โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร
Survey School,Royal Thai Survey Department.
Skip to content
หน้าแรก
ข้อมูลโรงเรียน
ประวัติโรงเรียนแผนที่
ผู้บังคับบัญชา
นโยบาย วัตถุประสงค์
ภารกิจ พันธกิจ ปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ วิสัยทัศน์ คำขวัญ
ส่วนราชการ
หลักสูตรนักเรียนนายสิบแผนที่
เนื้อหาหลักสูตร
คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษา
สิทธิผู้เข้ารับการศึกษา
การจัดการเรียนการสอน
การฝึกวิชาทหาร วิชาชีพ
เครื่องแต่งกายนักเรียนนายสิบแผนที่
กิจกรรมเสริมหลักสูตร
กิจกรรมชมรมนักเรียนนายสิบแผนที่
ชมรมประวัติศาสตร์
ชมรมภาษาอังกฤษ
ชมรมป้องกันตัว
การศึกษาดูงานนอกสถานที่
กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
การสวนสนามสาบานตนต่อธงชัยเฉลิมพล
สวนสนามเทิดเกียรตินายพล
แหล่งความรู้ออนไลน์
ติดต่อเรา
ประวัติโรงเรียนแผนที่
โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร
เป็นสถาบันการศึกษาที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจและทำแผนที่ ปัจจุบันเป็นส่วนราชการ สังกัดกรมแผนที่ทหาร
กองบัญชาการกองทัพไทย มีหน้าที่ผลิตนักสำรวจและทำแผนที่ให้แก่กองทัพและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเป็นระยะเวลากว่า๑๓๖ ปี (พ.ศ.๒๔๒๕-๒๕๖๑) ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้กรุณาอนุมัติให้ใช้หลักสูตรนักเรียนนายสิบแผนที่ โรงเรียนแผนที่กรมแผนที่
ทหาร
กองบัญชาการกองทัพไทย พุทธศักราช ๒๕๕๕ ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาช่างสำรวจเมื่อ
วันที่
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖ และได้รับการรับรองหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเทียบเท่า
หลักสูตร
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ ๓ กันยายนพ.ศ.
๒๕๕๗ และสำนักงาน ก.พ. มีมติรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคมพ.ศ.๒๕๕๗
โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบเนื่อง
จากครั้งที่เสด็จกลับจากประพาสต่างประเทศ ผ่านทางเกาะชวาแหลมมลายู และอินเดีย ใน
พุทธศักราช
๒๔๑๖
พระองค์ได้ทรงนำนายเฮนรี่
อลาบาสเตอร์ อดีตรองกงสุลอังกฤษประจำสยาม กลับเข้ามารับราชการเป็นที่
ปรึกษาส่วนพระองค์ด้วย โดยนายเฮนรี่
อลาบาสเตอร์
ได้กราบทูลถวายคำแนะนำในการทำนุบำรุงบ้านเมืองด้วยวิชาการสมัยใหม่ตามแบบอย่างตะวันตกหลายสาขา
รวมทั้งวิชาการสำรวจและทำแผนที่
ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่ามีประโยชน์อย่างมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ทดลองตั้งกองทำแผนที่ขึ้น ใน
พุทธศักราช
๒๔๑๘โดยมีนายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ เป็นหัวหน้าและกัปตันลอฟตั
ส
เป็นผู้ช่วย
ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามอีก ๔ นายได้แก่ หม่อมราชวงศ์แดง (หม่อมเทวาธิราช)
นายทัด ศิริสัมพันธุ์ (หนึ่ง) นายสุด (พระอุตรพิจารณ์) และหม่อมราชวงศ์เฉลิม (ภายหลังเป็นพระยาสากลกิจประมวญ) โดยได้เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพฯ เพื่อตัดถนนเจริญกรุงและถนนอื่นๆ
อีกหลายสาย ต่อจากนั้นก็ได้ทำแผนที่
เพื่อวางสายโทรเลขไปยังพระตะบอง และ
แผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม
เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือและเป็นแนวทางการป้องกันฝั่งทะเล
เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการรุกรานจากต่างประเทศโดยทางเรือ
เมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๒๓ รัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตรัฐบาลสยาม เพื่อให้กองทำแผนที่ กรมแผนที่
แห่งอินเดีย ซึ่งมี ร้อยเอก เอช ฮิล เป็นหัวหน้า และนาย เจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี เป็นผู้ช่วยเดินทางผ่านเข้ามาในประเทศสยาม เพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อเนื่องจากประเทศอินเดียผ่านพม่า เข้าเขตประเทศ
สยามทางจังหวัดราชบุรี เพื่อเข้าบรรจบกับแผนที่ทางทะเลที่ปากแม่น้ำ
เจ้าพระยา ทั้งขอสร้างหมุดหลักฐานทางแผนที่ ที่ภูเขาทองและที่พระปฐมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นจุดตรวจสอบภายหลังจากพระองค์ทรงพิจารณา
อย่างรอบคอบแล้วจึงโปรดเกล้าฯ อนุโลมตามคำแนะนำของ นาย เฮนรี่ อลาบาสเตอร์ คือ ยินยอมตามคำ
ขอ
ของรัฐบาลอังกฤษและทรงเห็นชอบกับการเจรจาทาบทาม นาย เจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี เข้ามารับราชการ
เพื่อเป็นการวางรากฐานการทำแผนที่ของไทย
ประเทศสยามมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีความต้องการแผนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กองทำแผนที่
เพียงกองเดียวไม่สามารถรองรับความต้องการจำนวนมากได้ เมื่อความทราบถึงพระเนตรพระกรรณ
จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
พระราชทานกำเนิดโรงเรียนแผนที่ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม
พ.ศ.
๒๔๒๕
พร้อมกับ
โปรดเกล้าฯ ให้ นายพันตรี พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็น
ผู้บัญชาการโรงเรียนแผนที่ กับแต่งตั้ง นายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี (พระวิภาคภูวดล) เป็นครูใหญ่ และนาย เฮนรี
นิโกเล เป็น
ครูรอง ทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถว ๒ ชั้น (ตึกกองทหารมหาดเล็ก)
หน้าประตูพิมานไชยศรีด้านตะวันออกในพระบรมมหาราชวัง โดยเกณฑ์นายทหาร
มหาดเล็ก
รักษาพระองค์
จำนวน ๓๐ นาย เข้าเป็นนักเรียน
รุ่นแรก
นายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี ได้พานักเรียนไปฝึกภาคปฏิบัติที่พระราชวังบางปะอิน โดยการลากโซ่
ผ่าน
ทุ่งนาหลังเกาะบางปะอิน ถึงแม้ นาย เจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี
จะเป็นครูใหญ่ แต่ก็ได้นำนักเรียนฝึกผ่านภูมิ
ประเทศ ที่เป็นน้ำ โคลน เลน ด้วยตนเอง นอกจากการฝึกที่หนักหน่วงแล้วความรู้ต่างๆ
ก็เป็นปัญหาไม่น้อย เนื่องจากครูใหญ่และครูรองพูดไทยไม่ได้ จึงได้จ้างนายบัญชาภูมิสถาน (พระยามหาอำมาตยาธิบดี) เป็นล่ามและช่วยตำแหน่งวิสามัญ เพราะได้เรียนภาษาอังกฤษและเลขมาดีแล้วและนอกจากจะเป็นล่ามแล้วยังสมัครเป็นนักเรียนด้วย
เมื่อโรงเรียนแผนที่ดำเนินการมาได้ราว ๓ ปี มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษามากพอที่จะตั้งหน่วย
ราชการขึ้น จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการแยกเหล่านักสำรวจออกจากสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ตั้งขึ้นเป็นกรมทำแผนที่
ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๘ (ตรงกับวันพฤหัสบดี แรมเก้าค่ำ ปีระกา สัปตศกจุลศักราช ๑๒๔๗) นาย เจมส์ เอฟ
แมคคาร์ธี ได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ เป็นร้อยเอกพระวิภาค
ภูวดล ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้ากรม ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมี นายพันตรี พระเจ้าน้องยา
เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมารเป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๔๕๒ ถึง พุทธศักราช ๒๔๗๔ โรงเรียนแผนที่ ได้ย้ายสังกัดหลายครั้ง ทำ
ให้
ต้องย้ายสถานที่ตั้งหลายแห่ง เช่น สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ มีสถานที่ตั้งในกรมทหารม้ารักษา
พระองค์ที่โรงทหารหน้า
(กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน)
สังกัดกระทรวงเกษตราธิการและสังกัดกรมเสนาธิการทหารบก
กระทรวงกลาโหม มีสถานที่ตั้งที่วังสระปทุม(กรีฑาสถานแห่งชาติ) โดยไม่ทราบจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา
ในช่วง
เวลานี้
ระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๕๒ ถึง พุทธศักราช ๒๔๗๔ โรงเรียนแผนที่ เป็นหน่วยขึ้นตรง
กองทัพบก
มีสถานที่ตั้ง ณ ตึกปากคลองตลาด ซึ่งเป็นอาคารและที่ดินส่วนพระองค์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถกรม
หลวงพิษณุโลกประชานารถ
ระหว่างนี้มีการจัดหลักสูตรการศึกษา ๒ แบบ ได้แก่
๑. หลักสูตรมัธยม รวม ๑๙ รุ่น จำนวน ๑๓๘ นาย
๒. หลักสูตรปฐม รวม ๑๘ รุ่น จำนวน ๑๒๓ นาย
ระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๗๕ ถึง พุทธศักราช ๒๔๗๘ โรงเรียนแผนที่และกรมแผนที่ย้ายที่ตั้งมารวมกัน ณ บริเวณ โรงเรียนนายร้อยมัธยม เชิงสะพานช้างโรงสี ถนนกัลยาณไมตรี และเป็นหน่วยขึ้นตรงกรมแผนที่ทหารบก ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ระหว่างนี้มีการจัดหลักสูตรการศึกษา ๒ แบบ ได้แก่
๑. หลักสูตรมัธยม รวม ๓ รุ่น จำนวน ๑๓ นาย
๒. หลักสูตรปฐม รวม ๑ รุ่น จำนวน ๘ นาย
ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๗๙ ถึง พุทธศักราช ๒๕๐๕ โรงเรียนแผนที่ สังกัดกรมแผนที่ทหารบกและมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับนายทหาร ที่เรียกว่า
“
นักเรียนนายร้อยแผนที่
”
จำนวน ๔๙๒ นาย และหยุดการผลิตใน พ.ศ.๒๕๐๖ แต่ยังคงผลิตนักเรียนนายสิบตามหลักสูตรนักเรียนนายสิบแผนที่ ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นต้นมา มีผู้สำเร็จการศึกษา รวม ๖ รุ่น จำนวน ๑๙๘ นาย
ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๐๖ เป็นต้นมา โรงเรียนแผนที่ เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมแผนที่ทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด และมีที่ตั้งที่เดียวกับกรมแผนที่ทหาร จนกระทั่งวันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๙ จึงได้ย้ายที่ตั้งมาตั้งอยู่ ณ
กองทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ ถนนราชดำเนินนอก
โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร สังกัด กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นสถาบันการศึกษา
ด้านการ สำรวจทำแผนที่ เพื่อผลิตนักสำรวจและทำแผนที่ให้แก่กองทัพ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
โดยให้ การศึกษากับกำลังพลในหลักสูตรระดับต่างๆ เกี่ยวกับหลักสูตรตามมาตรฐานวิชาชีพการสำรวจและการทำแผนที่ หลักสูตรตาม
แนวทางรับราชการของเหล่าทหารแผนที่ และหลักสูตรเพิ่มพูนความรู้ ตามความต้องการของหน่วยงานใน
และ
นอกกองทัพ ในสาขาวิชาการสำรวจและการทำแผนที่ ตลอดจนการจัดทำเอกสารตำราและอุปกรณ์การศึกษา
ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ยังอำนวยการศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมแผนที่ ให้แก่
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าอีกด้วย